ส่วนที่สามารถนำไปรับประทานได้คือส่วนหน่ออ่อนที่แตกใหม่ที่คล้ายกับหน่อไม้ฝรั่งและยอดอ่อนนำมากินกับน้ำพริกหรือใส่แกงต่างๆ นอกจากนั้นในส่วนของผลอ่อนก็กินได้ซึ่งจะมีรสขมฝาด ในหนึ่งปีจะได้กินผลเพียงหนึ่งครั้งในช่วงหน้าฝนประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม วิธีการสังเกตผลอ่อนที่กินอร่อยนั้นอยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 20 วันนับจากออกดอก เมื่อแก่จะสุกสีแดงมีรสหวานอมขมเป็นอาหารของนกนั่นเอง
และส่วนที่สำคัญที่สุดคือส่วนของราก ดอกจะหอมมากเมื่อเบ่งบาน กลิ่นจะลอยตามลมหอมชื่นใจ ลักษณะของรากสามสิบที่อยู่ใต้ดินนั้น จะเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวงคล้ายกับรากของกระชายแต่จะไม่มีเหง้าใหญ่เหมือนกระชาย ถ้าเอารากสามสิบมาทำแช่อิ่มจะใช้รากที่มีอายุไม่อ่อนไม่แก่จะกำลังดี เลือกรากที่ไม่ใหญ่ไม่ยาว มีขนาดสั้นๆ ป้อมๆ หัวเรียวท้ายเรียว
ในตำรับตำรายาอายุรเวทจะใช้รากสามสิบเป็นสมุนไพรหลักสำหรับบำรุงระบบภายในของสตรีในการทำให้กลับมาเป็นสาว โดยจะใช้รากสามสิบต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง ช่วยปรับสมดุลภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยแก้ปวดท้องประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก ตกขาว ภาวะหมดอารมณ์ทางเพศ บำรุงครรภ์และป้องกันการแท้งเป็นต้น
จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยในห้องทดลองพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของรากสามสิบคือ ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยคลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ แก้อาการอักเสบ แก้ปวด ยับยั้งเบาหวาน เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ซีสต์ มะเร็งมดลูก เนื่องจากสรรพคุณรากสามสิบมีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือที่เรียกกันว่าฮอร์โมนเพศหญิงนั่นเอง
คนเฒ่า คนแก่ คนชราก็สามารถพึ่งพาสมุนไพรรากสามสิบได้ เพราะว่ารากสามสิบถือว่าเป็นสมุนไพรแห่งการฟื้นฟูพลังชีวิต เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก หมดเรี่ยวหมดแรง โดยจะคั้นเอาน้ำรากสามสิบสดๆ 1 ส่วนสี่แก้ว ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายแดง ดื่มวันละสามครั้ง ก็จะค่อยๆ ช่วยให้กลับมามีชีวิตชีวาสดชื่นขึ้นอีกครั้ง
เรื่องราวน่ารู้เรียบเรียงจากสารคดีคุณภาพในรูปแบบบทความ
กดถูกใจแฟนเพจเพื่อติดตามและอัพเดตบทความใหม่ๆ คลิกเลย
กดถูกใจแฟนเพจเพื่อติดตามและอัพเดตบทความใหม่ๆ คลิกเลย
บทความแนะนำ
No comments:
Post a Comment