กลูต้าไธโอนทำให้ผิวขาวจริงหรือ
กลูต้าไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีกำลังสูงเมื่อเทียบกับวิตามินซีหรือวิตามินอี จึงมีผู้นำกลูต้าไธโอนมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือใช้ฉีดเพื่อให้ผิวขาว โดยอาศัยกลไกการออกฤทธิ์ดังนี้
กลูต้าไธโอนสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) และส่งผลให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำ (ยูเมลานิน พบมากในคนเอเชียและนิโกร) เป็นเม็ดสีชมพูขาว (ฟีโอเมลานิน พบในคนตะวันตก) ซึ่งการกินยาหรือฉีดสารกลูต้าไธโอนมีผลทำให้สีผิวจางลงในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหยุดการใช้ สีผิวก็จะกลับมาคล้ำเช่นเดิม ดังนั้นก่อนที่จะรับสารกลูต้าไธโอนเข้าร่างกาย ไม่ว่าจะกินหรือฉีด จึงควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและคำนึงถึงผลข้างเคียงที่มีต่อสุขภาพ เพราะอันที่จริงการมีผิวคล้ำก็มีข้อดีเช่นกัน คือสามารถป้องกันแสงยูวีได้ และที่สำคัญคนที่มีผิวคล้ำมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าคนผิวขาวด้วยซ้ำไป
ลักษณะการใช้กลูต้าไธโอนเพื่อผิวขาว
กลูต้าไธโอนที่พบในท้องตลาดส่วนใหญ่นั้น มักอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งแบบยาเม็ดและผงละลายน้ำสำหรับดื่ม ซึ่งในความเป็นจริงมีผลทำให้ผิวขาวน้อยมาก เพราะสารชนิดนี้จะดูดซึมได้เล็กน้อยและถูกขจัดออกจากร่างกายในที่สุด ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากการทานกลูต้าไธโอนในรูปแบบอาหารเสริมนั้นแทบไม่มีเลย
ต่อมาพบว่ามีผู้นำกลูต้าไธโอนในรูปแบบยาฉีดมาใช้แทนการเสริมอาหาร ดัดแปลงโดยการผสมกับวิตามินซีแล้วฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อครั้งละ 600 มิลลิลิตร และเนื่องจากผิวที่ขาวขึ้นด้วยกลูต้าไธโอนนั้นเป็นผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นชั่วคราว หากต้องการให้ผลคงอยู่ตลอดไป จำเป็นที่จะต้องได้รับการฉีดซ้ำเป็นระยะ ทำให้เกิดการสะสมยาในร่างกายมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้เช่นกัน
นอกจากนี้การฉีดยาจำเป็นต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการให้ยา เช่น การฉีดยาในอัตราที่เร็วเกินไป การติดเชื้อในกระแสเลือดจากเครื่องมือที่ไม่สะอาด การเกิดฟองอากาศอุดตันหลอดเลือด เนื่องจากผู้ฉีดยาไล่ฟองอากาศในเข็มไม่หมด เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัจจุบันสำนักงานอาหารและยา หรือ อย. ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนรับรองการใช้กลูต้าไธโอนเพื่อผิวขาวแต่อย่างใด และได้ประกาศห้ามใช้เนื่องจากกลูต้าไธโอนทั้งแบบทานและฉีดมีปริมาณกลูต้าไธโอนสูงถึง 500 - 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยใช้คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และอาจทำให้แพ้ยาจนช็อกถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือส่งผลในระยะยาวเช่น สะสมในร่างกายที่ตับ หรือทำให้ไตต้องทำงานหนักในการกำจัดปริมาณที่สูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังเนื่องจากผิวที่ไวต่อแสงแดดเพราะเม็ดสีผิวถูกทำลาย
ที่มา นิตยสาร LIVE
Beginner's Cryptocurrencies
Track Cryptocurrencies
Make Money i.e.
Get Cryptocurrencies
Initial Coin Offering
Asset Invest Cryptocurrencies
Drawbacks Cryptocurrencies
Future Cryptocurrency
Cryptocurrency FAQ
Performing Cryptocurrencies
Best Altcoins 2025
Bitcoin Overview 2025
Ethereum Overview 2025
Solana Overview 2025
Ripple Overview 2025
Cardano Overview 2025
Polygon Overview 2025
Chainlink Overview 2025
Polkadot Overview 2025
Avalanche Overview 2025
Helium Overview 2025
Blockchain Trends 2025
Decentralized Finance
Metaverse Cryptocurrency
Satoshi Nakamoto Cryptocurrency
Jeff Bezos Cryptocurrency
Famous With Cryptocurrency
Changpeng Zhao Cryptocurrency
ICO Cryptocurrency
Emerging Meme Coins
Pepe Unchained ($PEPU)
Trend 2025 Cryptocurenncy
Making Sense Bitcoin Boom
Cryptocurrency Trend 2025
Fiat Currency
Non-Fungible Token (NFT)
Cryptocurrency Risks
No comments:
Post a Comment