กลูต้าไธโอนเพื่อผิวขาว ทางเลือกที่ไม่น่าเสี่ยง
ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา หากผู้เขียนจะบอกว่าอากาศร้อนได้ใจคงไม่มีใครคัดค้าน แถมแสงแดดยังแผดเผาจนทำให้รู้สึกเหมือนปลาสลิดหรือเนื้อแดดเดียว ทุกครั้งที่ต้องเดินออกมาทำธุระหรือหาอาหารกลางวันกินจะเห็นแฟชั่นร่มบานสะพรั่ง คนไทยส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะสาวๆ) มักจะเห็นแสงแดดเป็นคู่ปรับตลอดกาล เพราะต่างก็อยากจะมีผิวขาวใส ครีมกันแดดและไวท์เทนนิ่งล้วนแต่ขายดี ถึงขั้นมีผลิตภัณฑ์ทั้งแบบกิน (ทีีมักโฆษณาเกินจริงหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน) และแบบฉีด (ที่กฎหมายบ้านเราแน่นอน) ให้ผิวขาวสารสำคัญที่นิยมใช้และหลายคนอาจจะคุ้นหูคือ กลูต้าไธโอนฉบับนี้เราจึงจะมาตามล่าหาความจริงเรื่องนี้กัน
สีผิวและสารเมลานิน
ก่อนที่เราจะเข้าถึงประเด็นที่ว่ากินอะไรแล้วผิวขาว เราต้องรู้ก่อนว่าสีผิวของคนนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมชาวตะวันตกจึงผิวขาว แล้วคนเอเชียผิวออกคล้ำไปจนถึงผิวเข้มแบบชาวแอฟริกา สีผิวของมนุษย์เกิดจากสารให้สีหรือเม็ดสีที่เรียกว่า เมลานิน (Melanin) สารนี้ถูกสร้างโดยเซลล์ชื่อเมลาโนไซด์ (Melanocyte) ในหนังกำพร้าชั้นล่างสุด โดยสารเมลานินจะแบ่งเป็น 2 ชนิด ด้วยกันคือ ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งมีขนาดเล็หและสีอ่อน และยูเมลานิน (Eumelanin)ซึ่งขนาดใหญ่กว่าและสีเข้ม ในผิวหนังของกลุ่มชนผิวขาวจะมีฟีโอเมลานินมากกว่ายูเมลานิน ผิวจึงมีสีอ่อนในทางกลับกลุ่มคนเอเชียอย่างคนไทยเรา จะมียูเมลานินมากกว่าฟีโอเมลานิน ผิวจึงออกสีน้ำตาลอ่อน นอกจากนี้ คนผิวสีเข้มมากจะมีการสร้างเมลานินมากกว่า และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้วจะถูกทำลายช้ากว่าด้วย ส่วนประกอบอื่นของผิวหนังก็มีผลต่อสีผิวด้วย ได้แก่ เส้นเลือด สารให้สีชนิดอื่น เช่น พวกแคโรทีนอยด์ทำให้ผิวออกสีเหลือง เห็นได้ชัดเวลาที่ใครกินมะละกอสุกปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะเริ่มสังเกตุเห็นผิวพระสังข์ ถ้าหยุดกินหรือกินน้อยลงสีเหลืองจะจางลงเอง
คำถามต่อไปคือแล้วทำไมผิวหนังเราต้องมีเมลานินหน้าที่ของสารเมลานินนอกจากให้สีแก่ผิวยังมีหน้าที่ที่เกี่ยวเนื่อง หน้าที่หลักคือการกรองรังสียูวีจากแสงแดดไม่ให้มาทำร้ายเซลล์หรือส่วนประกอบของร่างกายที่อยู่ลึกลงไป ช่วยกระจายแสงและยังสามารถต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย ดังนั้น จึงจะเห็นว่าสารเมลานินมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา
กลูตาไธไอนคืออะไร
คราวนี้มารู้จักกลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารเปบไทด์ที่เกิดจากกรดอะมิโน 3 ชนิดมารวมกัน ได้แก่ ซิสเตอิน (Cysteine) กรดกลูตามิก (Glutamic acid) และไกลซีน (Glycine)ร่างกายสามารถได้เองจากโปรตีนที่กินเข้าไปในแต่ละวัน และยังสามารถได้รับจากอาหารที่เป็นแหล่งของสารนี้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม และพืชผักต่างๆ โดยมีมากในผลอโวคาโด หน่อไม้ฝรั่ง แตงโม และวอลนัท ถึงแม้ว่าจะดูดซึมได้ไม่ดีนัก กลูต้าไธโอนมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการกไจัดสารพิษออกจากร่างกาย ผ่านการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยทำให้สารพิษละลายน้ำได้ดีขึ้นและกำจัดออกไปได้ง่ายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยเสริมการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินอี เป็นต้น รวมทั้งช่วยปกป้องตับจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีสุขภาพดีจะไม่ขาดกลูตาไธโอนจะพบการขาดบ้างในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคตับ โรคความดันโลหิตสูง โรคเอดส์ เป็นต้น รวมทั้งในคนที่สูบบุหรี่จัด
กลูต้าไธโอนกับสีผิว
รู้จักสารเมลานินและกลูตาไธโอนแล้ว จะเห็นว่าสารแต่ละตัวมีหน้าที่ที่สำคัญในร่างกายของคนเรา แต่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง คราวนี้ทำไมจึงมีความสนใจหรือมีการฉีดกลูตาไธโอนให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเพื่อสร้างภูมิต้านทาน แล้วพบว่าผู้ป่วยมีสีผิวจางลง โดยคำอธิบายคือเมื่อร่างกายได้รับกลูต้าไธโอนในปริมาณมาก จะไปยับยั้งการสร้างภูมิต้านทาน แล้วพบว่าผู้ป่วยมีสีผิวจางลง โดยคำอธิบายคือเมื่อร่างกายได้รับกลูต้าไธโอนในปริมาณมาก จะไปยับยั้งการสร้างยูเมลานิน (เมลานินดม็ดสีเข้ม) และเปลี่ยนไปสร้างฟีโอเมลานิน (เมลานินเม็ดสีอ่อน) เพิ่มขึ้น ผิวจึงดูขาวขึ้น แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือผลดังกล่าวนี้เป็นผลชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเวลาล่วงไปการผลิตเมลานินทั้ง 2 ชนิดจะกลับมาเหมือนปกติ
ความเสี่ยงจากการได้รับในปริมาณสูง
ดังที่กล่าวแล้วว่าผลจากการได้รับกลูต้าไธโอนนั้นไม่ถาวร ปัญหาจึงเกิดขึ้น ได้จากปัจจัย 2 ประการคือ การได้รับในปริมาณมากและการที่ต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆการที่ร่างกายสร้างเม็ดสีน้อยลง เท่ากับว่าเรามีเมลานินที่จะช่วยป้องกันเราจากรังสียูวีน้อยลง ทำให้เซลล์เกิดการเสื่อมเร็วขึ้นอาจมีอันตรายต่อเซลล์และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง อวัยวะอีกส่วนหนึ่งที่อาจได้รับผลกระทบคือ จอ (นัยน์)ตา เมื่อจอตามีเม็ดสีน้อยลง ด้วยและเสี่ยงต่อการมองไม่เห็นในระยะต่อไป นอกจากนี้ในประเทศญี่ปุ่นยังเคยมีรายการแพ้กลูตาไธโอนจาการฉีดจนเสียชีวิต
ในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)อนุญาตให้ใช้กลูตาไธโอนเฉพาะเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนมากใช้ร่วมกับวิตามิน เช่น วิตามินซี ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นยากินหรือยาฉีดเข้าร่างกาย
การมีสีผิวแตกต่างกันของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของโลก น่าจะเป็นการจัดการของธรรมชาติให้คนเหล่านั้นมีสภาวะที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสีผิวอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีจึงไม่ควรจริงจังกับเรื่องของความสวยความงามจนเกินไป เพราะเราก็ทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ไม่จีรัง ทางที่ดีควรให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีและการรักษาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมจะดีกว่า
ที่มา นิตยสารแม่บ้าน
Beginner's Cryptocurrencies
Track Cryptocurrencies
Make Money i.e.
Get Cryptocurrencies
Initial Coin Offering
Asset Invest Cryptocurrencies
Drawbacks Cryptocurrencies
Future Cryptocurrency
Cryptocurrency FAQ
Performing Cryptocurrencies
Best Altcoins 2025
Bitcoin Overview 2025
Ethereum Overview 2025
Solana Overview 2025
Ripple Overview 2025
Cardano Overview 2025
Polygon Overview 2025
Chainlink Overview 2025
Polkadot Overview 2025
Avalanche Overview 2025
Helium Overview 2025
Blockchain Trends 2025
Decentralized Finance
Metaverse Cryptocurrency
Satoshi Nakamoto Cryptocurrency
Jeff Bezos Cryptocurrency
Famous With Cryptocurrency
Changpeng Zhao Cryptocurrency
ICO Cryptocurrency
Emerging Meme Coins
Pepe Unchained ($PEPU)
Trend 2025 Cryptocurenncy
Making Sense Bitcoin Boom
Cryptocurrency Trend 2025
Fiat Currency
Non-Fungible Token (NFT)
Cryptocurrency Risks
No comments:
Post a Comment